จังหวัด นครพนม ครั้งหนึ่งเคยเป็นศูนย์กลางของ ศรีโคตรบูร ซึ่งเป็นเมื่องเก่าที่ตั้งอยู่ติดกับแม่น้ำโขง ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 735 กิโลเมตร
นครพนม ติดกับชายแดนริมฝั่งแม่น้ำโขง ในดินแดนที่ราบสูง ตั้งอยู่เหนือเมืองลาว หรือที่เรียกว่า “ท่าแขก” โดยรัชกาลที่ 1 พระราชทานนามให้ใหม่ว่า “นครพนม” เนื่องจากแหล่งภูมิศาสตร์ที่มีความโดดเด่นเป็นเมืองแห่งภูเขา ซึ่งในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาลาวและชนชั้นชาติอื่นๆ ได้อพยพข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานบริเวณนี้ จึงทำเกิดภาษา ประเพณีวัฒนธรรม และอาหารที่เป็นต้นตำรับจากที่นี่
ในหลายพื้นที่จะมีการเต้นรำพื้นบ้านที่ไม่ซ้ำกัน เช่้น รำศรีโคตรบูรณ์ ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ประจำ จังหวัดนครพนม และนอกจากนี้ยังมี การรำภูไทย แสกเต้นสาก และโส้ทั่งบั้ง ที่จะจัดขึ้นในช่วงเทศกาลที่สำคัญ นอกจากนี้ ยังมีประเพณี รำบายศรี เป็นการรำที่ใช้ในพิธีบายศรีสู่ขวัญ เมื่อมีแขกมาเยือนเมืองนครพนม มีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง ศาสนโบราณ อนุสาวรีย์ที่มีชื่อเสียง และปูชนียสถานที่สำคัญในจังหวัดนครพนม คือ พระธาตุพนม ซึ่งสร้างขึ้นแต่สมัยอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์นานมาแล้ว
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดบึงกาฬ
ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงคำม่วน ประเทศลาว โดยมีแม่น้ำโขงไหลกั้นพรมแดน
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดมุกดาหาร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสกลนคร
สภาพภูมิประเทศ
สภาพโดยทั่วไปของ นครพนม เป็นที่ราบลุ่ม มีที่ราบสูงและภูเขาอยู่บ้าง มีแม่น้ำสายสั้น ๆ เป็นสาขาย่อยแยกจากแม่น้ำโขงมาหล่อเลี้ยงความอุดมสมบูรณ์ภายในพื้นที่ พื้นที่ส่วนใหญ่มีแม่น้ำโขงไหลผ่าน นครพนมจึงนับว่าเป็นจังหวัดที่มีแหล่งน้ำที่สมบูรณ์มาก ด้านตะวันออกมีแม่น้ำโขงทอดยาวกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับลาว
จังหวัดนครพนม มีจุดผ่านแดนไปประเทศลาว รวม 6 จุด เป็นจุดผ่านแดนถาวร 2 จุด และจุดผ่อนปรน 4 จุด จุดผ่านแดนที่สำคัญและเป็นสากล คือ ด่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 ซึ่งเป็นประตูไปสู่อินโดจีน
การปกครองแบ่งออกเป็น 12 อำเภอ 99 ตำบล 1,128 หมู่บ้าน
- อำเภอเมืองนครพนม
- อำเภอปลาปาก
- อำเภอท่าอุเทน
- อำเภอบ้านแพง
- อำเภอธาตุพนม
- อำเภอเรณูนคร
- อำเภอนาแก
- อำเภอศรีสงคราม
- อำเภอนาหว้า
- อำเภอโพนสวรรค์
- อำเภอนาทม
- อำเภอวังยาง